วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดาวเนปจูน (Neptune)


 
             เมื่อดาว ยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวง ใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวง ใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเล โรมัน


             
           ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลก

               
           ก็ เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยว กับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์




ดาวเนปจูน (หรือที่คนไทยเรียกดาวเกตุ) เป็นดาวเคราะห์สุดท้ายคือลำดับที่ 8  ในระบบสุริยะที่มีขนาดเล็กที่สุดและหนาวเย็นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ทั้งสี่ (ได้แก่ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน) ดาวเนปจูนถูกค้นพบในปี 1846 ซึ่งถือว่าดาวเนปจูนเป็นดาวดวงแรกที่ถูกค้นพบได้ด้วยการคำนวนทางคณิตศาสตร์ต่างกับดาวเคราะห์ดวงอื่นที่ถูกค้นพบด้วยการสังเกตการณ์ เนื่องจากนักดาราศาสตร์ได้พบว่าวงโคจรของดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอิทธิพลของแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งซึ่งในขณะนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงใด ดาวเนปจูนจึงถูกค้นพบหลังจากนั้นในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับที่นักดาราศาสตร์ได้คำนวณไว้
ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยเดินทางไปสำรวจดาวเนปจูนคือยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) ซึ่งได้เดินทางไปถึงดาวเนปจูนในปี 1989 พร้อมทั้งถ่ายภาพดาวเนปจูนในระยะใกล้เป็นภาพแรกกลับมายังโลก นอกจากนั้นยังได้ถ่ายภาพยืนยันว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนอีกด้วยหลังจากวงแหวนของดาวเนปจูนถูกค้นพบมาแล้วก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ยานวอยเอเจอร์ 2 ยังได้ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเนปจูนเพิ่มเติมจากเดิมอีก 6 ดวงด้วย
   วงโคจรของดาวเนปจูนมีความรีน้อยมากเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ (ยกเว้นดาวศุกร์) นั้นคือมีความกลมค่อนข้างมาก โดยมีจุดไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.54 พันล้านกิโลเมตร และจุดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.44 พันล้านกิโลเมตร คือมีความแตกต่างกันเพียงประมาณ 100 ล้านกิโลเมตร   แกนหมุนของดาวเนปจูนมีความเอียง 28.3 องศาเมื่อเทียบกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ (ซึ่งคล้ายกับแกนโลกที่มีความเอียง 23.5 องศา) ซึ่งหมายความว่าบนดาวเนปจูนจะมีฤดูกาลเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับโลก แต่เนื่องจากดาวเนปจูนมีคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 164.8 ปี ฤดูกาลแต่ละฤดูกาลจึงยาวนานถึงประมาณ 40 ปี และเนื่องจากคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 164.8 ปีนี่เอง ทำให้ดาวเนปจูนยังโคจรไม่ครบ 1 รอบดีในปีนี้(ปี 2009) ตั้งแต่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 1846 (จะโคจรครบ 1 รอบในปี 2011)
โครงสร้างของดาวเนปจูน
      ดาวเนปจูนมีขนาดและโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับดาวยูเรนัสโดยมีแกนกลางเป็นหินและน้ำแข็ง ซึ่งมีมวลประมาณ 1.2 เท่าของแกนของโลกเรา มีความดันประมาณ 7 ล้านบาร์ ซึ่งมากกว่าความดันบรรยากาศบนพื้นโลกกว่าล้านเท่าและคาดว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า 5400 เคลวิน

      ชั้นแมนเทิลของดาวเนปจูนประกอบด้วยน้ำ แอมโมเนีย และมีเทนที่มีอุณหภูมิ 2000 ถึง 5000 เคลวินและมีมวลประมาณ 10 ถึง 15 เท่าของมวลของโลก โดยชั้นของแมนเทิลนี่เองที่สร้างสนามแม่เหล็กรอบๆ ดาวเนปจูน ส่วนชั้นนอกสุดของดาวเนปจูนเป็นชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน    เนื่องจากดาวเนปจูนมีการโคจรรอบตัวเองที่รวดเร็วมากคือประมาณ 16.11 ชั่วโมง จึงทำให้ดาวเนปจูนมีลักษณะโป่งออกที่เส้นศูนย์สูตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณเส้นศูนย์สูตรมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้วเหนือ-ใต้ประมาณ 848 กิโลเมตร
ชั้นบรรยากาศ
  ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน 79 เปอร์เซนต์ ฮีเลียม 18 เปอร์เซนต์ แก๊สมีเทนและแก๊สอื่นๆอีก 3 เปอร์เซนต์ และแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศนี่เองที่เป็นตัวดูดกลืนแสงสีแดงพร้อมทั้งสะท้อนแสงสีน้ำเงินทำให้เราสังเกตุเห็นดาวเนปจูนปรากฏเป็นสีน้ำเงิน
   ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนมีความแปรปรวนสูงมีพายุขนาดใหญ่และกระแสลมที่รุนแรงมาก โดยอาจมีกระแสลมแรงถึง 2160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวเนปจูนมีความหนาวเย็นมากคือมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย -200 องศาเซลเซียส เนื่องจากว่าดาวเนปจูนอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก ความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงมีผลต่อดาวเนปจูนน้อยมาก ความร้อนส่วนใหญ่ที่มีผลต่อบรรยากาศบนดาวเนปจูนจึงมาจากความร้อนภายในแกนของดาวเนปจูนเอง

สนามแม่เหล็ก   แกนแม่เหล็กของดาวเนปจูนเอียงออกจากแกนหมุนรอบตัวเอง 47 องศา และไม่อยู่ในแนว ศูนย์กลางดวง แต่เคลื่อนห่างออกไป 0.55 ของรัศมีดวง หรือประมาณ 13,500 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าลักษณะเช่นนี้มีผลต่อ สนามแม่เหล็กของดาวเนปจูนด้วย

บริวาร   นับจนถึงปี พ.ศ.2544 ค้นพบบริวารของดาวเนปจูนจำนวน 8 ดวง และในปี 2546 ค้นพบบริวารเพิ่มขึ้นอีก 3 ดวง รวมเป็น 11 ดวง มีดวงจันทร์ไทรทันเป็นดวงใหญ่สุด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2,700 กิโลเมตร นอกนั้นเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็ก เส้นผ่า
ศูนย์กลางประมาณ 50- 400 กิโลเมตร เท่านั้น

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phitsanulok/suwicha_p/neptune.html

ดาวเนปจูน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น