วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดาวพลูโต (Pluto)

 
             เมื่อมีการค้นพบดาวเนปจูน ได้ประมาณขนาดและการหมุนรอบของมัน แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดคิด ผลที่ได้ไม่สามารถอธิบายการหมุนที่ผิดปกติของดาวยูเรนัส บางทีอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูน บางทีอาจเป็นแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนี้ดึงดูดดาวยูเรนัส ได้มีการเริ่มค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 ชาวอเมริกันชื่อ Clyde Tombaugh ได้ถ่ายภาพของมันบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าดาวพูลโต สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น



              
           เวลา ส่วนใหญ่แล้วดาวพูลโตจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระหว่างการหมุนบางช่วงจะใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน และอยู่ห่างไกลที่สุดในปี 1999 ดาวพูลโตเป็นดาวขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก บนดาวมีความหนาวเย็นมากและอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวของมันอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือก๊าซของแข็ง เราคิดว่าดาวพูลโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน ลักษณะอาจจะเหมือนดาวบริวารของดาวยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง ดาวพูลโตอาจเคยเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการหมุนรอบดาวเนปจูน

รูปจากกล้องฮับเบิ้ล ดาวพลูโต (ซ้าย) และดาวชารอน 

       ดาวพูลโตมีดาวบริวาร 1 ดวงชื่อดาว Charon ซึ่งพบโดยการดูด้วยกล้องโทรทัศน์ในปี 1978 ดาว Charon มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 725 ไมล์ ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพูลโต ดาว Charon หมุนรอบดาวพูลโต โดยมีระยะทางห่างจากดางพูลโต 12,125 ไมล์ มันใช้เวลาหมุนรอบดาวพูลโต เท่ากับการหมุนรอบตัวเองของดาวพูลโต ดังนั้นถ้าหากเราอยู่บนดาวพูลโตเราจะมองไม่เห็นดาว Charon ปรากฏบนท้องฟ้า  



โครงสร้างและบรรยากาศลักษณะของดาวพลูโตคล้ายกับดาวเคราะห์น้อย
หรือวัตถุน้ำแข็งจากแถบไคเปอร์
นักดาราศาสตร์รู้จักดาวพลูโตน้อยมาก
สันนิษฐานว่าดาวพลูโต คงเป็นหิน 70 %
และน้ำแข็ง 30 % พื้นที่สว่างคงประกอบด้วย ไนโตรเจนแข็ง มีเทนแข็ง และ คาร์บอนไดออกไซด์ บรรยากาศเบาบางประกอบด้วยไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ และมีเทน และเนื่องจาก ดาวพลูโตมีวงโคจรรีมาก จึงอาจเป็นไปได้ว่า ดาวพลูโตมีบรรยากาศเฉพาะขณะเมื่ออยู่ใกล้
ดวงอาทิตย์ แต่อาจแข็งตัวเย็นจัดเมื่ออยู่ไกล จากดวงอาทิตย์ก็ได้


ดาวพลูโตโคจรเอียงออกจากระนาบสุริยวิถี
มากกว่าดาวเคราะห์เพื่อนบ้าน

 

บริวารดาวพลูโตมีบริวาร 1 ดวง ชื่อ คารอน โคจรอยู่ใกล้กันมากด้วยระยะห่าง 19,640 กิโลเมตร ทั้งคู่หันด้านเดียว เข้าหากัน ต่างโคจรรอบกันและกัน มีขนาดใหญ่มากคือราวครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต จึงเป็นดวงจันทร์ขนาด ใหญ่สุดเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงแม่ จึงจัดให้ดาวพลูโตกับคารอนเป็น ดาวเคราะห์คู่


 


http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phitsanulok/suwicha_p/pluto.html

ดาวพลูโต

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น