วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลิตผลของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น
โดย United Nations Convention on Biological Diversity ได้ให้นิยามของ เทคโนโลยีชีวภาพ ไว้ว่า
Any technological application that uses biological systems, living organisms, or derivatives thereof, to make or modify products or processes for specific use.
”การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้กับ ระบบของสิ่งมีชีวิต หรือ สิ่งมีชีวิต หรือ ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต เพื่อสร้างหรือปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ เพื่อมาใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน”
การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายด้านเช่น
1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า
2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย
4.เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต
เทคโนโลยีชีวภาพ ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) โดยเทคโนโลยีชีวภาพเมื่อก่อนมักนำไปใช้กับทางด้านอาหารและด้านการเกษตร
การค้นพบ โครงสร้างของสารพันธุกรรม หรือ DNA โดยเจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก ในปี พ.ศ. 2496 ต่อมามีการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะในแบคทีเรีย โดยเวอร์เนอร์ อาร์เบอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2510 ในปี พ.ศ. 2516 เอนไซม์ตัดจำเพาะนี้ถูกนำไปทดลองใช้ในการทดลองตัดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่ง แล้วนำไปใส่ให้แบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่งเป็นผลสำเร็จ โดยแสตนลีย์ โคเฮน และเฮอร์เบิร์ด โบเยอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มีการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น (ที่ไม่ใช่ของแบคทีเรีย) ไปใส่ในแบคทีเรียเป็นผลสำเร็จ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าด้านนี้อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญมีการตัดต่อยีนของมนุษย์ที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนใส่ลงในเซลล์ แบคทีเรียที่ชื่อ E. coli ซึ่งทำให้แบคทีเรียสร้างฮอร์โมนของมนุษย์ออกมาได้เป็นผลสำเร็จ
จากสิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ทำให้เกิด เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology)
หรือ พันธุวิศวกรรม ( Genetic engineering )
พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) คือการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (molecular biology) นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยน ดัดแปลง เคลื่อนย้าย หรือตรวจสอบ สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรม (RNA และ โปรตีน)ของสิ่งมีชีวิต
พันธุวิศวกรรมเป็นกระบวนการปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิต โดยนำยีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์หนึ่ง (species) ถ่ายฝากเข้าไปอีกชนิดพันธุ์หนึ่ง เพื่อจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น กระบวนการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า LMO (living modified organism) หรือ GMO (genetically modified organism) ตัวอย่างการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการใช้ประโยชน์เชิงการค้ามีมากมาย ซึ่งจะกล่าวถึงเพียงบางอย่างเท่านั้น
การใช้ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรมทางด้านต่างๆ
ทางด้านการเกษตรและอาหาร
เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคหรือแมลง การปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิมนั้น ซึ่งยังคงทำกันอยู่ โดยใช้วิธีหาพันธุ์ต้านทานซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ป่าและมีลักษณะไม่ดีอยู่มาก จากนั้นเอาพันธุ์ต้านทานผสมพันธุ์พ่อ-แม่ เข้าด้วยกันรวมทั้งลักษณะต้านทานด้วยเหตุนี้ จึงต้องเสียเวลาคัดเลือก และพัฒนาพันธุ์ต่ออีกอย่างน้อย 8-10 ปี กว่าจะได้พันธุ์ต้านทานและมีลักษณะอื่น ๆ ดีด้วย เพราะไม่สามารถเลือกยีนที่สามารถต้านทานใส่ไปได้โดยตรง ดังนั้นวิธีการปรับปรุงพันธุ์โดยการถ่ายฝากยีนที่ได้รับจากชนิดพันธุ์อื่น จึงสามารถลดระยะเวลาการพัฒนาพันธุ์ได้มาก
พันธุ์พืชต้านทานแมลง มีสารสกัดชีวภาพจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือ บีที ที่ใช้กำจัดแมลงกลุ่มหนึ่งอย่างได้ผลโดยการฉีดพ่นคล้ายสารเคมีอื่น ๆ เพื่อลดการใช้สารเคมีด้วยความก้าวหน้าทางวิชาการทำให้สามารถแยกยีนบีที จากจุลินทรีย์นี้และถ่ายฝากให้พืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด และมันฝรั่ง เป็นต้นให้ต้านทานแมลงกลุ่มนั้น และใช้อย่างได้ผลเป็นการค้าแล้วในประเทศ
พันธุ์พืชต้านทานโรคไวรัส โรคไวรัสของพืชหลายชนิด เช่น โรคจุดวงแหวนในมะละกอ (papaya ring-spot virus) สามารถป้องกันกำจัดได้โดยวิธีนำยีนเปลือกโปรตีน (coat protein) ของไวรัสนั้นถ่ายฝากไปในพืช เหมือนเป็นการปลูกวัคซีนให้พืชนั่นเอง กระบวนการดังกล่าวใช้กันอย่างแพร่หลายในพืชต่างๆ เป็นต้น
ทางการพัฒนาพันธุ์สิ่งมีชีวิตให้มีคุณภาพผลผลิตดี
ตัวอย่าง เช่น
- การถ่ายฝากยีนสุกงอมช้า (delayed ripening gene) ในมะเขือเทศ การสุกในผลไม้เกิดจากการผลิตสาร ethylene เพิ่มมากในระยะสุกแก่ นักวิชาการสามารถวิเคราะห์โครงสร้างยีนนี้ และมีวิธีการควบคุมการแสดงออกโดยวิธีการถ่ายฝากยีนได้ ทำให้ผลไม้สุกงอมช้า สามารถเก็บไว้ได้นาน ส่งไปจำหน่ายไกล ๆ ได้ สหรัฐเป็นประเทศแรกที่ผลิตมะเขือเทศสุกงอมช้าได้เป็นการค้า และวางตลาดให้ประชาชนรับประทานแล้ว
- การพัฒนาพันธุ์พืชให้ผลิตสารพิเศษ เช่นสารที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อาจเป็นแหล่งผลิตไวตามิน ผลิตวัคซีน และผลิตสารที่นำไปสู่การผลิตทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พลาสติคย่อยสลายได้ และโพลิมเมอร์ ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
- การพัฒนาพันธุ์สัตว์ มีการพัฒนาพันธุ์โดยการถ่ายฝากยีน ทั้งในปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ รวมทั้งน้ำปลา ได้มีตัวอย่างหลายรายการ เช่น การถ่ายฝากยีนเร่งการเจริญเติบโต และยีนต้านทานโรคต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามประโยชน์ของพันธุวิศวกรรมในเรื่องการผลิตสัตว์นั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาชุดตรวจระวังโรคเป็นส่วนใหญ่
- การพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ ให้มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่นให้สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้ดี เป็นต้น
ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ตัวอย่าง เช่น
เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรู้จากการวิจัยจีโนม ทำให้นักวิจัยรู้สึกถึงระดับยีนสิ่งมีชีวิต รู้ว่ายีนใดอยู่ที่ไหนบนโครโมโซม หรือนอกโครโมโซม สามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วนนั้นได้ หรือตัดออกมาได้ แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ
- การตรวจโรค เมื่อสามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วน ดีเอ็นเอ หรือยีนได้แล้ว ก็สามารถพัฒนาเป็น molecular probes สำหรับใช้ในการตรวจโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนายารักษาโรคและวัคฃิน ยารักษาโรค และวัคฃีน ใหม่ๆ ผลิตโดยวิธีพันธุวิศวกรรมในจุลินทรี หรือ recombinant DNA ทั้งสิ้น
- การสับเปลี่ยนยีนด้อยด้วยยีนดี (gene therapy) ในอนาคต เมื่องานวิจัยจีโนมมนุษย์สำเร็จ ความหวังของคนที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม อาจมีหนทางรักษาโดยวิธีปรับเปลี่ยนยีนได้
ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชที่ได้รับการถ่ายฝากยีนต้านทานโรคและแมลง ทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือใช้ในปริมาณที่ลดลงมาก พันธุวิศวกรรมอาจนำไปสู่การผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยน้อย และ น้ำน้อย ทำให้เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การสร้างสมดุลทรัพยากรชีวภาพได้
ทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
เมื่อวัตถุดิบได้รับการปรับเปลี่ยนคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยใช้พันธุวิศวกรรมแล้ว อุตสาหกรรมใหม่ๆจะเกิดตามมากมาย เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างแป้ง น้ำมัน และโปรตีน ในพืช หรือการลดปริมาณเซลลูโลสในไม้ เป็นต้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต จะเป็นการปฏิรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ โดยเน้นการใช้วัตถุดิบจากสิ่งมีชีวิตมากขึ้น รถยนต์ทั้งคัน อาจทำจากแป้งข้าวโพด สารเคมีทั้งหมดอาจพัฒนาจากแป้ง เชื้อเพลิงอาจพัฒนาจากวัตถุดิบพืช เป็นต้น
พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (Generation) เช่น รุ่นพ่อแม่ถ่ายทอดลักษณะต่างๆลงไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน โดยมีการเริ่มต้นการศึกษาเรื่องพันธุกรรม (Heredity)โดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นผู้ที่ค้นพบและอธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (Heredity) ในช่วงกลางของทศวรรษที่ 18
พันธุกรรม (Heredity)เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่เรียกว่า ยีน (Gene) ซึ่งยีน (Gene) แต่ละยีน (Gene) ก็จะมีหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม (Heredity) ลักษณะหนึ่งๆไป มีทั้งยีน (Gene) ที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีน (Gene) ที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม (Heredity)
http://www.thaibiotech.info/
เทคโนโลยีทางการเเพทย์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นมัจจุราชเงียบที่คร่าชีวิตประชากรโลกในแต่ละปีเป็นอันดับต้นๆ
โรคนี้เกิดจากการที่หลอดเลือดโคโรนารีซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบแคบหรือถูกอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และออกซิเจน เมื่อผู้ป่วยเกิดสภาวะหลอดเลือดอุดตันก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย และหากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute heart attack) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ยิ่งตรวจเจอโรคนี้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้นเท่านั้น
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถทำได้โดยการตรวจร่างกาย ประวัติความเจ็บป่วย และการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Electrocardiography (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) Echocardiography (Ultrasound heart) Magnetic resonance imaging (MRI) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Multi detector computed tomography) หรือ การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) ซึ่งถือเป็น Gold Standard ในการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพราะเห็นพยาธิสภาพที่เกิดในหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจน แต่วิธีการนี้อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแต่มีอาการน่าสงสัย เพราะจะต้องสอดใส่อุปกรณ์การตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) จึงได้รับการพัฒนาอย่างมากจนเป็น Multi slice CT scan (MSCT) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยนวัตกรรมล่าสุด คือ เครื่อง 256-slice multi-detector CT scan ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยความพร้อมด้านการแพทย์ระดับแนวหน้าผสานกับประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค วันนี้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่การตรวจรักษาโรคหัวใจแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด 256-slice multi-detector CT scan เครื่องแรกในประเทศไทย
256-slice multi-detector CT scan ได้รับการพัฒนาจากเครื่อง 64-slice CT scan ที่ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่าเครื่อง 64- slice CT scan จะสามารถใช้อย่างได้ผลและสะดวกขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจสวนหัวใจ ทั้งยังสามารถบอกปริมาณคราบหินปูนที่จับเกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นตัวพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน อนาคตร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ แต่เครื่อง 64-slice CT scan ก็ยังมีข้อจำกัดในการตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้น ของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นๆ
ดีอย่างไร
256-slice multi-detector CT scan สามารถใช้ตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที เครื่องนี้ยังมีข้อดีกว่าคือให้ภาพผลการตรวจที่คมชัดกว่า ครอบคลุมอาณาบริเวณของอวัยวะที่ต้องการตรวจมากกว่า มีความแม่นยำสูง เวลาที่ใช้ในการตรวจน้อยกว่า อีกทั้งการหมุนของเครื่องสแกนต่อรอบกินเวลาเพียง 0.27 วินาที ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซเรย์ในการรับการตรวจวินิจฉัยโรคน้อยลงถึง 80%
256-slice multi-detector CT scan จะแสดงภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น หัวใจ ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงจนสามารถใช้ตรวจดูภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจปริมาณการสะสมของหินปูนในผนังหลอดเลือด และความผิดปกติของหลอดเลือดได้ในคราวเดียวกัน ทั้งยังให้ผลเบื้องต้นที่รวดเร็วกว่า เนื่องจากใช้เวลาในการตรวจน้อยกว่า และข้อมูลจากการตรวจจะได้รับการแปลผลโดยรังสีแพทย์และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ทำให้ทราบผลได้เร็ว (ภายในเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงกรณีเร่งด่วน)
เหมาะกับใครบ้าง
การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง 256-slice multi-detector CT scan จึงนับเป็นวิธีตรวจวินิจฉัยที่เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ชัดเจน เพราะวิธีนี้ทำได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปริมาณคราบหินปูนเกาะอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือดโคโรนารีไม่มากนัก
กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะของการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ว่าควรระมัดระวัง และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคนี้อันตรายถึงชีวิต
การปฏิบัติตัวเพื่อรับการตรวจ
-อาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนการตรวจหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiogram) ในการตรวจหาปริมาณหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือด (calcium scoring)ไม่ต้องงดอาหารก่อนตรวจ
-หากมียาที่รับประทานประจำ ให้รับประทานยาได้ตามปกติจนถึงเช้าวันตรวจ
-ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน หลังการตรวจ
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cell transplantation) เป็นวิทยาการความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่สามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงหลายชนิดให้มีโอกาสหายขาดได้ โดยความสำเร็จขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย การมีผู้บริจาค stem cell ที่เหมาะสม ประสบการณ์ความพร้อม ความเชี่ยวชาญของแพทย์ และพยาบาลผู้ดูแลรักษา และที่สำคัญคือกำลังใจจากบิดามารดา ผู้ปกครอง และญาติพี่น้องของผู้ป่วย หรือจากบุคคลใกล้ชิด
เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cells) คืออะไร ?
คือ เซลล์ตัวอ่อน หรือเซลล์ต้นกำเนิด (parent cells) ที่อยู่ในไขกระดูก ซึ่งสามารถเจริญเติบโต และแบ่งตัวพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ คือ
- เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย
- เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ต่อต้าน และทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่รุกรานร่างกาย
- เกร็ดเลือด มีหน้าที่ห้ามเลือดจากบาดแผล ช่วยให้เลือดหยุดไหล
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell Transplantation) คืออะไร ?
คือ การเปลี่ยนหรือแทนที่ stem cell ที่ผิดปรกติด้วย stem cell ที่ปรกติ Stem cell ที่ปรกตินั้นได้มาจากผู้บริจาค และนำมาให้แก่ผู้ป่วย (ผู้รับ) หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาขนาดสูง ที่เรียกว่า "การเตรียมสภาพผู้ป่วย" (Conditioning) ซึ่งใช้เวลานาน 5-9 วัน แล้วแต่โรค และสภาพของผู้ป่วย
ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เหตุผลที่ผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมสภาพก็เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังเหลือซ่อนเร้นในร่างกาย ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม การเตรียมสภาพเพื่อทำให้เกิดที่ว่างในไขกระดูกผู้ป่วย เพื่อให้ stem cell จากผู้บริจาคมีที่ที่จะเจริญเติบโต และเพื่อกดภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไม่ให้ต่อต้าน stem cell ของผู้บริจาค ต่อจากระยะการเตรียมสภาพ จะเป็นระยะเวลาของการปลูกถ่าย โดยการให้ stem cell เข้าไปในตัวผู้ป่วยผ่านทางสายสวนเส้นเลือดดำใหญ่ ด้วยวิธีการคล้ายคลึงกับการให้เลือด (blood transfusion) ไม่จำเป็นต้องฉีดโดยตรงเข้าไปในไขกระดูกผู้ป่วย Stem cell นั้นจะไหลเวียนในกระแสเลือดผู้ป่วย และเข้าไปอยู่ในไขกระดูกได้เอง จากนั้นจะเริ่มเจริญเติบโตต่อไป
ใครควรได้รับการปลูกถ่าย stem cell ?
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคของไขกระดูกหรือความบกพร่องหรือผิดปรกติของเซลล์ในไขกระดูก เช่น โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง โรคโลหิตจางเบต้าธาลัสซีเมีย โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งบางชนิด ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็ง
ต่อมหมวกไต มะเร็งเนื้อเยื่อ - ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือมีความผิดปรกติทางเมตาบอลิคบางชนิด
แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหาได้จากไหน ?
- ไขกระดูก โดยการเจาะดูดไขกระดูกที่บริเวณกระดูกเชิงกราน (กระดูกสะโพก) ด้านหลัง ผู้บริจาคจำเป็นต้องได้รับการวางยาสลบขณะที่ทำการดูดไขกระดูก หลังการบริจาค เซลล์ในไขกระดูกจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมาทดแทนได้เอง ไม่มีการสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพใดๆ ทั้งสิ้น
- กระแสเลือด โดยฉีดยากระตุ้น G-CSF ให้เซลล์ในไขกระดูกแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แล้วออกมาไหลเวียนในกระแสเลือด จากนั้นนำเลือดของผู้บริจาคผ่านเครื่องมือคัดแยก stem cell เก็บไว้ แล้วคืนเลือด และพลาสมากลับสู่ร่างกายผู้บริจาค เป็นวิธีที่ผู้บริจาคจะรู้ตัวดีตลอด ไม่ต้องวางยาสลบ ลักษณะการบริจาคคล้ายคลึงกับการบริจาคโลหิต
- เลือดจากสายสะดือ และรกของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งวงการแพทย์ค้นพบว่าอุดมไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เป็นการนำสิ่งที่เคยถูกละทิ้งไปในอดีตมาทำให้เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย วิธีการทำโดยการเก็บทันทีหลังจากทารกเพิ่งคลอด และผูกตัดสายสะดือแล้ว ด้วยวิธีปราศจากเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด จากนั้นทำการเตรียม และเก็บสงวน cord blood ไว้ในสภาพแช่แข็งในถังไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิเย็นจัด
ใครสามารถเป็นผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ?
ผู้บริจาค stem cell ควรเป็นผู้ที่มีหมู่เนื้อเยื่อ HLA 6 หมู่หลักตรงกันหรือเข้ากันได้กับผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสปลูกถ่ายติดสำเร็จสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อน Graft-versus-Host disease (GvHD) น้อยหรือไม่เกิดเลย หมู่ HLA หรือ Human Leukocyte Antigen หลักดังกล่าวประกอบด้วย HLA-A, -B, -DR อย่างละ 2 ตำแหน่ง
ผู้บริจาคส่วนใหญ่ที่หาได้มักจะเป็นพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ป่วย เนื่องจากโอกาสที่พี่น้องจะมี HLA ตรงกันทุกประการเท่ากับร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ส่วนตัวบิดามารดาเองจะมี HLA ตรงกับผู้ป่วยเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยเป็นบุตรคนเดียว หรือไม่มีพี่น้องที่มี HLA ตรงกัน แพทย์สามารถสรรหาผู้บริจาคที่เป็นอาสาสมัคร (Unrelated, volunteer donor) ได้จากศูนย์กลางการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครบริจาค stem cell คนไทยที่เรียกว่า National Stem Cell Donor Registry ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อแสวงหาผู้บริจาคจากต่างประเทศด้วย
กระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยสังเขป
หลังจากผู้ป่วยได้รับการเตรียมสภาพ และได้รับการปลูกถ่าย ต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์กว่าที่ stem cell ใหม่จะเริ่มปลูกติด ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ในห้องเดี่ยวปลอดเชื้อที่ติดตั้งเครื่องกรองเชื้อโรค ฝุ่นละออง และเป็นแรงดันบวก ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อน ต้องได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ ต้องได้รับเลือด และเกร็ดเลือดที่ผ่านการเตรียมอย่างพิเศษ ได้รับยาช่วยกระตุ้นการปลูกถ่ายติด และยากดภูมิต้านทานเพื่อป้องกันภาวะ GvHD ผู้ป่วยบางรายต้องได้รับสารอาหารทางหลอดเลือด ผู้ป่วยมักต้องพักอยู่ในโรงพยาบาลนานประมาณ 6-8 สัปดาห์จึงจะฟื้นตัวแข็งแรงพอที่จะสามารถกลับบ้านได้
เครื่องช่วยในการผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์สร้างภาพแบบสามมิติ (O-Arm)
O-Arm คือ เครื่องช่วยในการผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์สร้างภาพแบบสามมิติ ที่เรียกว่า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ “โออาร์ม” (O-Arm) ทำงาน ร่วมกับเครื่องมือผ่าตัดนำวิถี (Navigation system) มีชื่อเรียกว่า “สเต็ลท์” (Stealth) มาช่วยผ่าตัดได้แม่นยำและ ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องแรกในประเทศไทยข้อดีของเครื่องโออาร์ม คือ เป็นเครื่องที่สามารถเข็นไปในห้องผ่าตัดคร่อมตัวคนไข้เพื่อถ่ายภาพในท่านอนท่าไหนก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายรูปได้หลายรูป และหลายมุม ทั้งด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง รวมทั้งสามารถถ่ายรูปได้ 600 รูป ภายในเวลา 10 วินาที ทำให้ได้รูปมากและมีข้อมูลดี ซึ่งเราสามารถนำภาพนี้มาแสดงเป็นภาพสามมิติ ถือเป็นการช่วยในการผ่าตัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น
นอกจากนี้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ฯ ยังสามารถสร้างภาพแบบสามมิติบันทึกภาพในขณะผ่าตัดกระดูกสันหลังจริงขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ผ่าตัด ซึ่งเป็นภาพที่ชัดเจน และแสดงตำแหน่งของกระดูกสันหลังอย่างละเอียดและแปลงภาพออกมาในรูปแบบแอนิเมชั่นสามมิติ โดยขณะแพทย์เคลื่อนไหวเครื่องมือขณะผ่าตัดจะมองเห็นการทำงานในขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การใส่โลหะในกระดูกสันหลัง และที่สำคัญยังทำให้แพทย์กำหนดตำแหน่งที่ปลอดภัยในการวางเครื่องมือต่างๆ ได้ด้วยความแม่นยำสูงแม้ว่ากระดูกสันหลังจะผิดรูปก็ตาม
โดยเครื่องสร้างภาพแบบสามมิตินี้จะใช้ร่วมกับระบบนำวิถีสเต็ลท์ เพื่อนำข้อมูลจากภาพสามมิติที่ได้มา ช่วยศัลยแพทย์ในการประเมินระยะที่สามารถเข้าถึงบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้แม่นยำ และรวดเร็ว โดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ และยังเป็นผลดี ต่อบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เนื่องจากได้รับรังสีน้อย
เครื่องมือนี้จะช่วยให้แพทย์กำหนดจุดต่างๆ ในกระดูกสันหลังได้มากถึงระดับเศษส่วนของมิลลิเมตร ทำให้สามารถวางโลหะช่วยเชื่อมกระดูกได้แม่นยำ นอกจากนี้ เครื่อง มือทั้ง 2 ยังสามารถใช้งาน ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ ที่ใช้ในการผ่าตัดจุดศัลยกรรมในสมอง ทำให้ศัลยแพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งเนื้องอกในสมองหรือจุดต่างๆ ในสมองได้และใช้เวลาไม่มาก ซึ่งใน อนาคตจะมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการผ่าตัดสมองด้วย
ศัลยกรรมย้ายเซลล์รากผม
เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี และมีความปลอดภัยสูง เพราะจะใช้แค่เพียงยาชาเฉพาะที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเท่านั้น และเป็นวิธีที่แพทย์ปลูกผมทั้งหลายทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
หลักการสำคัญสำหรับการปลูกผมโดยการย้ายเซลล์ก็คือ แพทย์จะย้ายเซลล์ผมตรงบริเวณท้ายทอย หรือเซลล์ผมตรงบริเวณขมับเหนือกกหูทั้งสองข้างมาปลูกยังบริเวณศีรษะล้าน ทดแทนเส้นผมเดิมที่สูญเสียไป
เซลล์เส้นผมตรงบริเวณท้ายทอย และขมับเหนือกกหูนี้มีลักษณะพิเศษต่างจากเซลล์เส้นผมบริเวณอื่นคือเซลล์บริเวณนี้จะไม่
ตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชายจึงไม่เสื่อม หรือตายไปเช่นเซลล์เส้นผมบริเวณอื่น ผมที่ปลูกจึงอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ตราบใดที่ผมตรงบริเวณ
ท้ายทอยหรือผมตรงบริเวณขมับนี้ยังอยู่ ผมที่ปลูกก็จะยังอยู่เช่นเดียวกัน เพราะมาจากที่เดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเราย้ายเซลล์รากผมไปปลูก
ยังบริเวณศีรษะล้าน เซลล์รากผมนั้นก็จะสร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่และอยู่อย่างถาวร
ข้อดี
- เส้นผมที่ขึ้นใหม่เป็นเส้นผมจริงซึ่งงอกออกจากหนังศีรษะเช่นผมปกติจึงดูเป็นธรรมชาติ
- ผมที่ปลูกจะอยู่อย่างถาวรไปจนตลอดชีวิตเมื่อร่วงไปแล้วก็กลับขึ้นใหม่อีก
- ดูแลผมเหมือนปกติ สามารถสระผมได้เอง ตัดผม ย้อมผม ฯลฯ ได้ตามร้านตัดผมทั่วไป
- เล่นกีฬา ออกกำลังกายได้ทุกชนิดตามปกติ
- ผมที่ปลูกจะค่อยๆ ขึ้นอย่างช้าๆ จนยากที่คนรอบข้างจะสังเกตได้
ขั้นตอนในการทำศัลยกรรมย้ายเซลล์รากผม (Hair Transplantation)
- แพทย์จะออกแบบแนวผมด้านหน้าเพื่อให้รับกับใบหน้าผู้ป่วยแต่ละคน การออกแบบแนวผมนี้ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วย โหงวเฮ้ง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ
- กำหนดขอบเขต และวัดขนาดพื้นที่ของบริเวณที่ต้องการปลูก เพื่อใช้คำนวณหาจำนวนกอผมที่จะต้องนำมาปลูกให้เต็มที่นั้นๆ ให้ได้ความหนาแน่นที่ต้องการ
- เลือกเซลล์เส้นผมตรงบริเวณท้ายทอยที่ต้องการนำมาปลูก เล็มผมตรงบริเวณนี้ให้สั้นประมาณ 1-2 มม. และกำหนดขอบเขตที่ต้องการไปปลูก
- ให้ยาชา และตัดผิวหนังที่มีเซลล์เส้นผมที่ออกจากหนังศีรษะจากบริเวณที่กำหนดไว้ในข้อ 3 แล้วเย็บปิดแผล ผมทางด้านหลังจะปิดบังรอยแผล ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้
- ชิ้นเนื้อที่ได้มานี้จะถูกนำไปแยกเซลล์ผมออกเป็นกอๆ หรือกราฟ (graft) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) โดยในแต่ละกอจะมีเซลล์ผมตั้งแต่ 1-4 เส้นตามธรรมชาติ
- ให้ยาชาตรงบริเวณที่ต้องการปลูกอีกครั้งหนึ่ง ใช้เข็มเจาะรูเพื่อฝังกอผมที่ได้เตรียมไว้ ขนาดของรูจะมีขนาดต่างๆ กันตามขนาดของกอผม
- นำกอผมที่แยกไว้มาฝังในรูที่เจาะไว้
- ตรวจดูความเรียบร้อยหลังฝังกอผมเสร็จก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
- นัดผู้ป่วยมาสระผมในวันรุ่งขึ้นหลังทำ และสระผมทุกวัน วันละครั้งจนกระทั่งตัดไหม
- ตัดไหมแผลด้านหลัง 10-14 วันหลังปลูกผม (ยกเว้นใช้ไหมละลาย) แผลเป็นทางด้านหลังจะเล็กมากจนยากที่จะสังเกตเห็นได้
การเลือกหาศัลยแพทย์ผ่าตัดปลูกผม
เครื่องแกมม่าไนฟ์
โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นหน่วยงานที่มีระบบการบริหาร แยกเป็นอิสระจากศูนย์อื่น และเป็นศูนย์เปิด เพื่อให้แพทย์จากโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน สามารถมาใช้ศูนย์นี้ได้ โดยส่งผู้ป่วยมา และแพทย์ สามารถเข้ามาดูแลผู้ป่วยได้ หรือจะร่วมในการรักษา พร้อมแพทย์ประจำศูนย์ด้วยก็ได้ ศูนย์ศัลยกรรมแกมม่าสมองกรุงเทพ ได้เปิดขึ้นเป็นแห่งแรกใน Southeast Asia นับเป็นการช่วยให้ผู้ป่วย ที่เป็นโรคทางสมอง สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นการสร้างคุณภาพชีวิต ให้กลับคืนมาเหมือนเดิม หรือใกล้เคียงในระยะเวลาอันสั้น ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วย ไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่าย มากเกินจำเป็น ในการเดินทางไปรักษาในต่างประเทศเครื่องแกมม่าไนฟ์ ประกอบด้วยรังสี จากต้นกำเนิดรังสีของ Cobalt - 60 จำนวน 201 ลำแสง ซึ่งพุ่งผ่านช่องทาง (Collimator) ของหมวกเกราะ (Helmet) ยิงตรงไปที่เป้าหมายในสมอง หมวกเกราะนี้ ช่วยทำให้รักษา ด้วยรังสีแม่นยำ ตรงเป้าหมายที่แท้จริง รังสีแกมม่า ที่มีขนาดความเข้มสูง ก็จะสามารถ ทำลายพยาธิสภาพ ส่วนที่ต้องการรักษาได้ในขนาดต่างๆ ได้ และเนื้อเยื่อรอบๆ ของพยาธิสภาพ ส่วนที่ต้องการรักษา จะได้รับปริมาณรังสีน้อย และไม่เป็นอันตราย และไม่มีผลกระทบกระเทือน ต่อสมองส่วนอื่นๆ เครื่อง Gamma Knife มีชิ้นส่วน ที่เคลื่อนที่น้อยชิ้นมาก จึงทำให้ความแม่นยำสูง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ในการรักษา ดีเยี่ยม ทั้งยังสามารถ ปิดกั้นลำแสงของรังสี ส่วนที่จะไปทำ ให้เกิดอันตราย กับประสาทสมอง ที่สำคัญๆได้ เช่น ประสาทตา เป็นต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูเปิดหมวกเกราะ จะมีขนาดต่างๆ กัน ให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับขนาด และรูปร่างของเนื้อเยื่อ ที่จะรักษา โดยปริมาณรังสีที่ออกมา จะมีปริมาณต่ำในขณะที่ลำแสง ที่ยิงออกมาจำนวนทั้ง 201 ลำแสง ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุด จะถูกยิง และพุ่งไปรวมกันที่จุดๆ เดียวตรงบริเวณเนื้อเยื่อ ที่ทำการรักษา แล้วปริมาณรังสีที่ออกมานั้น จะลดลงทันที ทำให้การรักษาเป็นไปด้วยดี ไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่ดีรอบข้าง ก่อนการดำเนินการรักษา ด้วยแกมม่าไนฟ์ จะมีการคำนวณ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และกำหนดการวางแผน พร้อมทั้งกำหนดความเข้ม ของรังสีให้พอเหมาะ กับขนาดพยาธิสภาพ ณ จุดที่จะทำการรักษานั้นๆ
โดยสรุปการรักษาด้วยเครื่องแกมม่าไนฟ์์
เป็นวิธีการที่คุ้มค่าไม่น่ากลัว เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดรักษาด้วยการเปิดกระโหลกศีรษะ การรักษาด้วยเครื่องแกมม่าไนฟ์ จะอันตรายน้อยกว่าหรือแทบจะไม่อันตรายเลย การพักฟื้นใช้เวลา 1-2 วัน ผลแทรกซ้อนและความเสี่ยงต่อการทุพพลภาพแทบจะไม่มี ทั้งนี้ผู้ป่วยยังสามารถประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการหยุดงานหรือพักฟื้นในโรงพยาบาล
เครื่องแกมม่าไนฟ์ใช้บำบัดหรือทำลายหยุดยั้งโรคทางสมองได้ 4 กลุ่ม คือ
- กลุ่มโรคเส้นเลือดในสมองผิดปกติ หรือเส้นเลือดขอดในสมอง
- กลุ่มโรคเนื้องอกในสมองส่วนต่างๆ ที่อยู่ลึกจนถึงก้านมองซึ่งผ่าตัดแบบทั่วไปได้ยาก
- กลุ่มโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่สมองจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลุกลามมาที่สมอง
- กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง เช่น อาการเจ็บปวดใบหน้า เนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำงานผิดปกติ, โรคลมชัก (บางชนิด) เป็นต้น
http://www.learners.in.th/blogs/posts/414201
เทคโนโลยีสิ่งทอและเสื้อผ้า
เทคโนโลยีสิ่งทอและเสื้อผ้า
สาระความสำคัญ มนุษย์นำสิ่งทอมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งการตัดเย็บเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ สิ่งทอทำจากวัสดุหลากหลายชนิด มีสีสันมากมาย ประโยชน์ใช้สอยตามคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ทำให้การนำสิ่งทอมาออกแบบเพื่อใช้งานต่างๆ ต้องคำนึกถึงปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกันเพื่อให้ผลงานที่ออกแบบและสร้างออกมา นั้นเหมาะสมและเป็นที่น่าพึงพอใจแก่ผู้ใช้งานมากที่สุดรายละเอียดสาระการเรียนรู้
1. ใยผ้า ใยผ้าเป็น หน่วยที่เล็กที่สุดของผ้ามีความยาวมากกว่าความกว้างหลายเท่า มีสมบัติที่เหมาะสำหรับใช้ทำเส้นด้านหรือทำผ้า การจำแนกใยผ้าได้หลายวิธี ที่นิยมกันส่วนใหญ่จะนิยมตามส่วนผสมทางเคมี ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่
1.1 ใยเซลลูโลส เป็นเส้นใยที่ได้จากพืช เช่น ฝ้าย นุ่น ลินิน ป่าน ปอ สับปะรด และอะบากา เป็นต้น
1.2 ใยโปรตีน เป็นเส้นใยที่มีส่วนประกอบของโปรตีน มีทั้งใยธรรมชาติและใยประดิษฐ์ ใยโปรตีนธรรมชาติได้แก่ ใยจากขนสัตว์ เช่าขนแกะ อูฐ และกระต่าย เป็นต้น ใยโปรตีนประดิษฐ์ ได้แก่โปรตีนจากข้าวโพด โปรตีนจากถั่วเป็นต้น
1.3 ใยสังเคราะห์ ได้จากการสังเคราะห์จากสารเคมี เช่า ไนลอน โพลิเอสเตอร์ โอเลฟีน วินยอน และอะคริลิก
1.4 ใยอนินทรีย์ มีทั้งใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ ใยธรรมชาติ ได้แก่ ใยหินอย่างเดียว ใยสังเคราะห์ได้แก่ ใยแก้ว และใยโลหะ เป็นต้น
2. เส้นด้าย เส้นด้ายเกิดจากการที่นำเส้นใยหลายๆเส้นมารวมกันขนาดจะใหญ่กว่าเส้นใยเดิมที่เรียกว่าการปั่นด้าย
ปัจจุบัน กระบวนการปั่นด้ายมีหลายวิธี เช่น การปั่นด้ายด้วยแบบวงแหวน ( Ring Spinning ) การปั่นด้ายแบบปลายเปิด (Open-end Spinning ) การปั่นด้ายแบบเกลียวสลับ ( Self Twist ) การปั่นด้ายแบบไรเกลียว (Wrapped Yarns ) และการปั่นด้ายแบบอื่นๆ
3. การผลิตผ้า ผ้าเป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นผืน มีความกว้างและความยาว ผลิตจากเส้นใย การผลิตผ้า ถ้าแบ่งตามโครงสร้างของผ้าอาจแบ่งได้ 5 ชนิดด้วยกัน
* ผ้า เป็นผ้าที่ไม่ได้ผ่านการทอ เช่น ผ้าผัดใยขนสัตว์ และผ้าอัดด้วยเข็ม
* ผ้าถักนิต ( Knitted Fabrics ) หรือผ้ายืด เป็นผ้าที่มีความยืดหยุ่นคืนตัวได้ดี ไม่ยับง่าย สวมใส่สบาย
* ผ้าทอ ส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มต่างๆ ที่เราใช้อยู่ในชีวิประจำวันการทอเบื้องต้นจะมี 3 แบบ ได้แก่ การทอลายขัด การทอลายสอง และการทอต่วน
* ผ้าผลิตจากใยด้ายผสม เป็นผ้าที่ประกอบด้วยใยตั้งสองชนิดขึ้นไปผสมกัน มีวัสดุประสงค์เพื่อเพิ่มสมบัติและการใช้งานและลดต้นทุน
* ผ้าที่ผลิตด้วยกระบวนการอื่นๆ เช่นการถักเปีย การทอผ้าลูกไม้ และผ้าอัดโปร่งลม เป็นต้น
4. การตกแต่งผ้าการ ตกแต่งผ้าเป็นกระการที่กระทำในระหว่างผลิตผ้า หรือหลังการทอผ้าเป็นผืนแล้ว เพื่อให้สมบัติและเนื้อสัมผัสของผ้าดีขึ้นเหมาะแก่การใช้สอย มีหลายวิธี เช่น การตกแต่งผ้าทางกล เป็นการตกแต่งที่ใช้ทางเครื่องจักรหรือเครื่องมือ การย้อมสี และการพิมพ์ลวดลายเป็นต้น
5. เครื่องที่ใช้ในการตัดเย็บผ้า เรื่องมือที่ใช้ใน การตัดเย็บเสื้อผ้ามีหลายชนิด ได้แก่ โต๊ะทำงาน กระดาษสร้างแบบดินสอสร้างแบบ ชอล์ขัดผ้า ไม้บรรทัด ไม้ฉาก กรรไกร จักรเย็บผ้า เข็มหมุด สายวัด เครื่องเจาะกระดาษ เครื่องบากแบบตัด เหล็กเจาะรู และไม้โค้งฝรั่งเศส ( French Curves ) เป็นต้น
6. การออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอ สามารถดำเนินการตามกระบวนการเทคโนโลยีดังนี้
- การระบุปัญหา
- การสืบค้นปัญหา
- การเลือกวิธีการแก้ปัญหา
- การวางแผนและการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา
- การปฏิบัติการสร้างผลิตภัณฑ์
- การทดสอบและการประเมินผลิตภัณฑ์ - เสนอแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา
และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร
โทรคมนาคม
ระบบ
สารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการ หนึ่ง คือ
การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้
(Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
3. ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
4. ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
5. ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
- ความถูกต้อง (accuracy)
- ความเชื่อถือได้ (reliability)
-
การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
- ชัดเจน (clarity)
- ระดับรายละเอียด (level of detail)
- รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
- สื่อการนำเสนอ (media)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
- ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
- ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
- การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
- มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ
(Process)
- ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
- การมีส่วนร่วม (participation)
- การเชื่อมโยง (connectivity)
6.ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบ
สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ
เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน
7. องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์
(Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6
ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย
(network) กระบวนการ (procedure) และคน (people) Sorry, your browser
doesn't support Java(tm). - ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ
และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- เครือข่าย (Network) คือ
การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่
บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ
และผู้ใช้ระบบ
8. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
•
ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม
ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการ
จัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access)
เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
• ช่วยลดต้นทุน
การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว
หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
•
ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว
การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวด เร็ว
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย กัน
(machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์
(human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ
เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
•
ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหากระบบสารสนเทศนั้นออกแบบ
เพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้ง หมด
จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
•
ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support
systems)
จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น
อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
•
ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วย
ทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน
ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่
หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความ
เชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
•
ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้
การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับ
ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
•
ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
• คุณภาพชีวิตการทำงาน
(Quality o f Working Life)
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ตหรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่างๆ ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
จาก จุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร |
1.
ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล
หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2.
ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็น แหล่งปลายทางของการสื่อสาร
หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ
คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร
(Massage)
เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้
คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล
(Medium) เป็น
สื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น
อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol)
เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
1.2 ชนิดของการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น3 ประเภท
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
รูปที่ 2
แสดงการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว
2.
การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex
Transmission)
เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทางแต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น
แสดงดังรูปที่ 3
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)